ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบเสียงสาธารณะ


ระบบเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ

ระบบเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ (Public address System) ระบบการกระจายเสียงไปตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่
ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกรจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน  อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูบแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง ไม่สำคัญ แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่เขียนมาในตอนต้น
การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่างอาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง
ข้อดีของระบบเสียงตามสายแบบนี้คือ ง่าย สะดวกในการติดตั้งและดูแล คุณภาพเสียงระดับประกาศใช้ได้ แต่ไม่นิยมใช้กับระยะทางไกลถึงแม้สามารถส่งได้หลายกิโลก็ตาม ดังนั้นการเลือกใช้งานจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนออกแบบและติดตั้ง เพราะถ้าติดตั้งไปแล้วอาจเจอปัญหาหลายๆอย่างได้
ตัวอย่างการออกแบบ                                (งบประมาณเริ่มต้น 50,000. ขึ้นไป ไม่เกิน 150,000.-)

ตัวอย่างระบบกระจายเสียงสำหรับ ชุมชน/ หมู่บ้าน/ หน่วยงาน/ โรงงาน ที่ต้องการติดตั้งระบบเสียงตามสายจำนวนจุดลำโพงไม่เกิน 15 ตัวและระยะสายไม่เกิน 2 กิโลเมตร อุปกรณ์ประกอบติดตั้งพร้อมใช้งาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเสียงในอาคาร และห้างสรรพสินค้า

อุปกรณ์พื้นฐานของระบบเสียงประกาศ 1. ไมค์โครโฟน (Microphone) ในระบบเสียงประกาศมีไมค์โครโฟนหลักๆอยู่ 2 แบบ คือแบบธรรมดาทั่วไปจะใช้ไมค์โครโฟนแบบตั้งโต๊ะหรือไมค์ธรรมดาทั่วไปก็ได้ และอีกแบบหนึ่งคือไมค์โครโฟนแบบที่สามารถเลือกพื้นที่สำหรับประกาศได้ เพื่อต้องการประกาศเฉพาะบางพื้นที่ทำให้ไม่ไปรบกวนพื้นที่อื่น เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานถ้าเราต้องการประกาศรวมทั้งหมดก็ไม่มี เหตุจำเป็นที่ต้องใช้ไมค์โครโฟนแบบเลือกโซนได้ 2. เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องผสมสัญญาณคือจำนวนต้นทางของแหล่งกำเนิดเสียง ว่ามีเท่าไหร่เราก็สามารถเลือกช่องสัญญาณให้เหมาะสมได้ เครื่องผสมสัญญาณเสียงบางตัวมีระบบขยายในตัวก็สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้อง ซื้อเครื่องขยายเสียงเพิ่มแต่อย่างใด อีกทั้งมีช่องสัญญาณขาออกที่สามารถแบ่งโซนได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มเครื่อง เลือกโซนแต่อย่างใด เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียงหากในงานมัลติมีเดี...

ระบบ MaTv

MATV ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วนคือ 1 ส่วนรับสัญญาณทีวีเข้าระบบ ส่วนรับสัญญาณทีวีที่เป็นสายอากาศจะทำหน้าที่รับสัญญาณทีวีที่ส่งออกมาจากเสาส่งในระบบภาคพื้นดิน แนวคิดคือการนำแผงก้างปลาหันไปตามเสาส่งต่างๆแล้วรวมสัญญาณส่งลงไปตามอาคารตามสายส่ง แต่ปัญหาของทีวีในระบบอนาลอกก็คือ คุณภาพของสัญญาณจะไม่ดี เนื่องจากเกิดการสะท้อนของคลื่นสัญญาณกับอาคารข้างเคียง ทำให้เกิดเงา การจูนสัญญาณอาจเกิดภาวะเสียงชัดภาพไม่ชัด แต่พอภาพชัดเสียงจะไม่ชัดเป็นต้น สมัยนี้ก่อนทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจะเกิดขึ้นจึงนิยมทำวิธีที่สอง นั้นคือส่วนรับสัญญาณเป็นจานดาวเทียม โดยการมีจานดาวเทียมนี้จะทำให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก คมชัดทุกช่อง ไม่เป็นเงา ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและภาพ เราสามารถตั้งจานหลักๆ เพียงจานเดียวก็รับสัญญาณได้หลายๆ ข่อง แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับหรือ Receiver จำนวนมากเพื่อแปลงสัญญาณดาวเทียมให้เป็นสัญญาณทีวีเพื่อส่งไปยังระบบสายสัญญาณของอาคารต่อไป ตัวอย่างเข่นหากมีช่องดาวเทียมทั้งหมด 100 ช่อง และเราต้องการช่องที่น่าสนใจส่งผ่านระบบ MATV เพียง 10 ช่อง เราก็จะเดินสายสัญญาณมาจากจานดาวเทียมแล้วแยกสัญญาณ 10 เ...