ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ระบบเสียงในอาคาร และห้างสรรพสินค้า

อุปกรณ์พื้นฐานของระบบเสียงประกาศ 1. ไมค์โครโฟน (Microphone) ในระบบเสียงประกาศมีไมค์โครโฟนหลักๆอยู่ 2 แบบ คือแบบธรรมดาทั่วไปจะใช้ไมค์โครโฟนแบบตั้งโต๊ะหรือไมค์ธรรมดาทั่วไปก็ได้ และอีกแบบหนึ่งคือไมค์โครโฟนแบบที่สามารถเลือกพื้นที่สำหรับประกาศได้ เพื่อต้องการประกาศเฉพาะบางพื้นที่ทำให้ไม่ไปรบกวนพื้นที่อื่น เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานถ้าเราต้องการประกาศรวมทั้งหมดก็ไม่มี เหตุจำเป็นที่ต้องใช้ไมค์โครโฟนแบบเลือกโซนได้ 2. เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องผสมสัญญาณคือจำนวนต้นทางของแหล่งกำเนิดเสียง ว่ามีเท่าไหร่เราก็สามารถเลือกช่องสัญญาณให้เหมาะสมได้ เครื่องผสมสัญญาณเสียงบางตัวมีระบบขยายในตัวก็สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้อง ซื้อเครื่องขยายเสียงเพิ่มแต่อย่างใด อีกทั้งมีช่องสัญญาณขาออกที่สามารถแบ่งโซนได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มเครื่อง เลือกโซนแต่อย่างใด เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียงหากในงานมัลติมีเดี...
โพสต์ล่าสุด

ระบบเสียงสาธารณะ

ระบบเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ ระบบเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ (Public address System) ระบบการกระจายเสียงไปตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่ ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกรจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน  อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูบแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง ไม่สำคัญ แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่เขียนมาในตอนต้น การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่างอาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง ข้อดีของระบบเสียงตามสายแบบนี้คือ ง่าย สะดวกในการต...

ระบบ MaTv

MATV ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วนคือ 1 ส่วนรับสัญญาณทีวีเข้าระบบ ส่วนรับสัญญาณทีวีที่เป็นสายอากาศจะทำหน้าที่รับสัญญาณทีวีที่ส่งออกมาจากเสาส่งในระบบภาคพื้นดิน แนวคิดคือการนำแผงก้างปลาหันไปตามเสาส่งต่างๆแล้วรวมสัญญาณส่งลงไปตามอาคารตามสายส่ง แต่ปัญหาของทีวีในระบบอนาลอกก็คือ คุณภาพของสัญญาณจะไม่ดี เนื่องจากเกิดการสะท้อนของคลื่นสัญญาณกับอาคารข้างเคียง ทำให้เกิดเงา การจูนสัญญาณอาจเกิดภาวะเสียงชัดภาพไม่ชัด แต่พอภาพชัดเสียงจะไม่ชัดเป็นต้น สมัยนี้ก่อนทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจะเกิดขึ้นจึงนิยมทำวิธีที่สอง นั้นคือส่วนรับสัญญาณเป็นจานดาวเทียม โดยการมีจานดาวเทียมนี้จะทำให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก คมชัดทุกช่อง ไม่เป็นเงา ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและภาพ เราสามารถตั้งจานหลักๆ เพียงจานเดียวก็รับสัญญาณได้หลายๆ ข่อง แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับหรือ Receiver จำนวนมากเพื่อแปลงสัญญาณดาวเทียมให้เป็นสัญญาณทีวีเพื่อส่งไปยังระบบสายสัญญาณของอาคารต่อไป ตัวอย่างเข่นหากมีช่องดาวเทียมทั้งหมด 100 ช่อง และเราต้องการช่องที่น่าสนใจส่งผ่านระบบ MATV เพียง 10 ช่อง เราก็จะเดินสายสัญญาณมาจากจานดาวเทียมแล้วแยกสัญญาณ 10 เ...

LBN

low noise blockdown converter (LNB)               หมายถึง อุปกรณ์สำหรับแปลงความถี่ที่ได้รับมาจากดาวเทียมให้ต่ำและมีกำลังมากพอที่จะส่งไปตามสายนำสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าคำว่า low noise แปลว่า สัญญาณรบกวนต่ำ ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้มีสัญญาณรบกวนที่เกิดในตัวมันเองต่ำมากเท่าใดสัญญาณที่มาจากดาวเทียมที่อยู่ในระบบรับสัญญาณก็ถูกรบกวนต่ำมากเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้สัญญาณมีความบริสุทธิ์มากตามไปด้วย ส่วนคำว่า blockdown converter แปลว่า ตัวเปลี่ยนให้ต่ำลง สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนให้ต่ำลงเพราะความถี่ที่มาจากดาวเทียมเป็นความถี่ที่สูงเกินกว่าขีดความสามารถของสายนำสัญญาณจะยอมให้ผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพคือมีการสูญเสียต่ำ จึงต้องมีการแปลงให้อยู่ในช่วงความถี่ที่เหมาะสมเพื่อที่จะให้ถูกส่งผ่านไปตามสายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

การใช้เข็มทิศ มุมงาย

การใช้เข็มทิศ การใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจานดาวเทียม - ใช้วัดทิศทางในการรับสัญญาณ - ใช้เทียบวัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB การเลือกใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจาน                 เข็มทิศมีอยู่มากมายหลายแบบ...แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับช่างติดตั้งจานดาว เทียมในขณะนี้คือ...เข็มทิศแบบไม้บรรทัด เหมือนภาพตัวอย่างนี้...ไม่ว่าจะเป็นบริษัทดาวเทียมใหญ่หรือเล็ก...ตอนนี้ แนะนำให้ใช้เข็มทิศแบบนี้กันทั้งนั้นละครับ                    ข้อดีของเข็มทิศแบบนี้ก็คือ....สามารถหมุนปรับตั้งตัวเลขอ้างอิงได้...ใช้ วัดปรับทิศได้ค่อนข้างแม่น...และใช้วัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB ได้ด้วย...และสำหรับท่านที่นำไปใช้ควบคู่กับแผนที่ที่มีอัตราส่วนเท่ากันกับ ตัวเลขที่พิมพ์ไว้ข้างๆตัวเข็มทิศ...ก็จะสามารถวัดระยะทางเป็นแบบกิโลเมตร ได้เลยละครับ...และสุดท้ายที่ยากจะแนะนำคือมีแว่นขยายให้ใช้ด้วย...สรุป เข็มทิศนี้ค่อนข้างดีจึงยากแนะนำให้ใช้กันคร...

Ku Band

KU Band คืออะไร  เคยูแบนด์  ( อังกฤษ :  K u  band ) คือย่านหนึ่งของ สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในย่าน ความถี่ไมโครเวฟ  สัญลักษณ์ Ku  หมายถึง "เค-ข้างใต้" (มาจากคำดั้งเดิมในภาษาเยอรมันว่า "Kurz-unten" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน) ซึ่งมีความหมายถึงแถบที่อยู่ข้างใต้แถบ K ในการประยุกต์ใช้งานเรดาร์ จะมีช่วงความถี่ครอบคลุมระหว่าง 12-18 GHz ตามคำนิยามทางการของแถบความถี่วิทยุตามมาตรฐาน IEEE 521-2002 เคยูแบนด์ มีการใช้งานโดยทั่วไปในการสื่อสารดาวเทียม ที่สำคัญๆ คือ ดาวเทียมส่งผ่านการติดตามข้อมูล (Tracking Data Relay Satellite) ขององค์การนาซา สำหรับทั้งการติดต่อกับกระสวยอวกาศและการสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติดาวเทียมแบบเคยูแบนด์ยังมีการใช้งานสำหรับการส่งข้อมูลไปยังที่ห่างไกล เช่นสำหรับเครือข่ายระบบโทรทัศน์ที่ใช้ในการแก้ไขและการออกอากาศ แถบความถี่นี้ยังแบ่งออกเป็นช่วงย่อยอีกหลายช่วงแล้วแต่บริเวณทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจัดแบ่งโดยสมาพันธ์การสื่อสารสากล (International Telecommunication Union; ITU) สถานีโทรทัศน์ NBC เป็นเครือข่ายโทรทัศน์แห่งแรกที่ทำการอัพลิงก์รายการส...

วงโคจรของดาวเทียม

วงโคจรของดาวเทียม         การออกแบบวงโคจรของดาวเทียมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานดาวเทียม ระดับความสูงของดาวเทียมมีความสัมพันธ์กับคาบเวลาในวงโคจรตาม กฎของเคปเลอร์ข้อที่ 3 (กำลังสองของคาบวงโคจรของดาวเทียม แปรผันตาม กำลังสามของระยะห่างจา กโลก) ดังนั้น ณ ระดับความสูงจากผิวโลกระดับหนึ่ง ดาวเทียมจะต้องมีความเร็วในวงโคจรค่าหนึ่ง มิฉะนั้นดาวเทียมอาจตกสู่โลกหรือหลุดจากวงโคจรรอบโลก ดาวเทียมวงโคจรต่ำเคลื่อนที่เร็ว ดาวเทียมวงโคจรสูงเคลื่อนที่ช้า          นักวิทยาศาสตร์คำนวณหาค่าความเร็วในวงโคจรได้โดยใช้  “กฎความโน้มถ่วงแห่งเอกภพของนิวตัน” (Newton's Law of Universal Gravitation) “วัตถุสองชิ้นดึงดูดกันด้วยแรงซึ่งแปรผันตามมวลของวัตถุ แต่แปรผกผันกับระยะทางระหว่างวัตถุยกกำลังสอง” ดังนี้                  แรงสู่ศูนย์กลาง = แรงโน้มถ่วงของโลก                         mv 2 /r   ...